เมษายน 20, 2024
สะเทือนเขาใหญ่ ช้างชนช้างจนงาหัก สัญญาณเตือนสุขภาพสัตว์ วันที่เมืองล้อมป่า

ศึกช้างป่าชนกันสนั่นเขาใหญ่ ระหว่างพลายงาทองและพลายทองคำ บริเวณริมถนนใกล้กับที่ทำการอุทยานฯ เหวนรก จ.ปราจีนบุรี

สัตว์เลี้ยง ต่อมาพบว่างาพลายทองคำ หักเป็นสองท่อน เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 65 มีการตั้งข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญถึงลักษณะการหักของงา บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งอาหารของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ในเขาใหญ่ ที่ได้รับแร่ธาตุไม่เพียงพอ แม้จะมีการสร้างโป่งจำนวนมาก ในสภาวะที่เมืองล้อมป่า “นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน” หรือ หมอล็อต หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยกับ “ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” ว่า การชนกันของช้างป่าเป็นช่วงการผสมพันธุ์ที่เริ่มขึ้นช่วงฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ช่วงนี้ช้างตัวผู้ที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ จะกลับเข้าไปในป่าเพื่อไปหาโขลงช้างที่มีตัวเมียพร้อมจะผสมพันธุ์ ซึ่งการผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หากตัวเมียยินยอมในทันที แต่บางกรณีช้างตัวผู้ก็ต้องชนกัน เพื่อแย่งความเป็นใหญ่“ปกติช้างสองตัวนี้ ไม่มีอุปนิสัยดุร้าย แต่ก่อนการต่อสู้ครั้งนี้จะเห็นถึงไทม์ไลน์ เมื่อสัปดาห์ก่อนมีโขลงช้างอยู่ละแวกนั้น โดยขณะนี้ช้างสองตัวที่ชนกันก็อยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมของช้างที่ชนกัน ตัวที่แพ้จะต้องถอย แต่ช่วงหลังการต่อสู้ของช้างตัวผู้จะชนกันถึงตาย ซึ่งตัวที่ตายจะถูกงากระแทก จนช่องอกช้ำเลือดตกในตาย” ช้างตัวผู้เริ่มเรียนรู้ว่า การต่อสู้ต้องเอาช้างตัวที่แพ้ให้ถึงตาย เพราะปีหน้าเมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ก็ต้องกลับมาชนกันอีก การชนกันครั้งหน้าก็ไม่ได้การันตีว่าตัวเองจะเป็นผู้ชนะ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการคัดสรรโดยธรรมชาติ“ธรรมชาติของช้างตัวผู้ที่มีเชิงจะงาไม่ยาว เพราะการต่อสู้ถ้างายาว จะถูกช้างคู่ต่อสู้ใช้งวงบีบรัดจนงาหัก แต่ช้างตัวผู้ที่เก่งงาจะไม่ยาว แต่มีการลับงาให้คมกริบกับต้นไม้และก้อนหินอยู่เสมอ เวลาดูช้างป่าเห็นงายาวๆ อาจดูหล่อ แต่ชั้นเชิงการต่อสู้ยังอ่อนหัด”

สะเทือนเขาใหญ่ ช้างชนช้างจนงาหัก สัญญาณเตือนสุขภาพสัตว์ วันที่เมืองล้อมป่า

งาของช้างที่หักบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่า เพราะงาช้างเป็นอวัยวะแข็งแรงมากที่สุด

จากการประเมินงาของงาพลายทองคำ พบว่า งาที่หักมีรอยดำเหมือนกับส่วนของฟันที่อยู่ในเหงือก ข่าวสัตว์เลี้ยง แสดงความผิดปกติของอาการเหงือกร่น คาดว่างาที่หักมีการโยกมาก่อนหน้านั้น“โครงสร้างของงาช้างที่เปราะบางสามารถบ่งบอกถึงโภชนาการของสัตว์ป่าในพื้นที่ ซึ่งแร่ธาตุจากโป่งเริ่มขาดแคลนความหลากหลาย เช่น ขาดแคลนแคลเซียม ฟอสฟอรัส ขณะเดียวกันก็เป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวที่ใส่น้ำหอม ทำให้ช้างและสัตว์ป่าไม่เข้ามาบริเวณพื้นที่แหล่งอาหาร นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดในการทำโป่ง อย่างการนำเกลือแกงมาใส่ในโป่ง เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องและสร้างปัญหาสุขภาพให้กับสัตว์ป่า”เบื้องต้นเตรียมประสานกับหน่วยงานที่มีเครื่องมือในการฉายรังสี เพื่อตรวจวัดแร่ธาตุภายในงาของช้างที่หัก และดูว่าแร่ธาตุอะไรที่ขาดหายไป เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับเปลี่ยน สร้างโภชนาการให้กับสัตว์ป่าในเขาใหญ่ เพราะพฤติกรรมของช้างที่ออกไปบุกบ้านคนรอบพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแร่ธาตุที่มีอยู่ในป่าไม่เพียงพอ“สุดท้ายแล้วการชนกันของช้างป่า ตัวที่ชนะไม่ได้หมายความว่าจะได้ครอบครองตัวเมีย เพราะตัวเมียอาจไม่ได้เลือกตัวที่ชนะมาเป็นคู่ในการผสมพันธุ์ แต่ตัวที่แพ้อาจได้รับความเห็นใจ และถูกเลือกให้ผสมพันธุ์ นี่จึงเป็นความหลากหลายของสัตว์ป่า ที่มนุษย์ต้องช่วยกันดูแลรักษาอย่างเข้าใจ ในสภาวะที่เมืองและที่ดินทำกินล้อมรอบผืนป่า” หมอล็อต กล่าวสรุปทิ้งท้าย.

แนะนำข่าวสัตว์เลี้ยง อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “AAI” บริจาคผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับแมวและสุนัขให้มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการฯ