เมษายน 24, 2024
สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ

สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

สุขภาพ เพจเฟซบุ๊ก ไม่ใช่หมอบ่น-aggressivenotdoctor โพสต์ข้อมูลระบุว่า “ข่าวคุณหมอ วัย 28 ปี รพ.มหาราช เป็น มะเร็งปอด พอไปดูข่าว ข้อมูลสถิติเก่า ประชาชนใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ป่วยเป็นมะเร็งปอดและเสียชีวิต สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และอย่าลืม จ.เชีบงใหม่ ติดอันดับอากาศแย่สุดของโลก PM 2.5 สูงมากทุกปี” ข้อมูลข่าวเก่าเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดย ผู้จัดการออนไลน์ รายงานไว้เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2551 “นพ.จรัส สิงห์แก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เผยว่า ผลการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบ ชาวบ้านในพื้นที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด จากหมอกควันพิษและเสียชีวิตมาก เป็นอับดับ 1 ของประเทศ สาเหตุเพราะสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะและความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กต่ำกว่า 2.5 ไมครอน กระจายอยู่ในพื้นที่ราบแอ่งก้นกระทะ รวมทั้งสูดดมก๊าซเรดอน จากแร่ธาตุยูเรเนียม ที่มีอยู่มากผิดปกติกระจายตัวใต้พื้นดินสู่ผิวดิน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกบ้านติดกับผิวดิน ทำให้สูดดมก๊าซเรดอนโดยไม่รู้ตัว” ข่าวดังกล่าวระบุในตอนท้ายว่า “ผลการวิจัยพบผู้ป่วยสูงถึง 80-90 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตถึง 40 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงเป็น 5 เท่าของประเทศ ส่วนวิธีการแก้ปัญหา หากปลูกบ้านใหม่ต้องยกพื้นสูงให้อากาศถ่ายเทสะดวก หากพบรอยแตกตามพื้นบ้านที่เป็นซีเมนต์ให้ปิดรอยแยกทั้งหมด เปิดประตูหน้าต่างบ้าน ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก”สถิติ ‘มะเร็งปอด’ ในเชียงใหม่-ภาคเหนือสูงกว่าทุกภูมิภาคในไทย งานศึกษาอ้างอิงข้อมูลวิจัยพบชนิดของมะเร็งปอดเกี่ยวข้องกับ PM2.5 ขณะที่สังคมตื่นตัว หลังกรณีอาจารย์หมอ วัย 28 ปี ที่เชียงใหม่ เผย ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ จากกรณี นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุ 28 ปี ออกมาเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดียว่า กำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ และดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดี

สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 65 เพจเฟซบุ๊ก WEVO สื่ออาสา เปิดเผยข้อมูลสถิติมะเร็งปอด ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และภาคเหนือ

อ้างอิงงานศึกษา ของ รศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าหน่วยวิชามะเร็งวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข่าวสุขภาพ พบว่า มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพศชายในทะเบียนมะเร็งของจ.เชียงใหม่ 14,299 ราย ขณะที่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศหญิง 5,664 ราย เมื่อพิจารณาอัตราการป่วยด้วยมะเร็งปอดภาพรวมของประเทศไทย ผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 9.3 เพศหญิง ร้อยละ 20.6 สำหรับ ข้อมูลผู้ป่วยในเชียงใหม่ ผู้ชาย ร้อยละ 22.3 ผู้หญิง ร้อยละ 29.6, จ.ลำปาง ผู้ชาย ร้อยละ 27.6 ผู้หญิง ร้อยละ 53 ส่วนที่ จ.สงขลา ผู้ชาย ร้อยละ 4.9 ผู้หญิง ร้อยละ 13.5 “ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการป่วยเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น เมื่อก่อนเราจะบอกว่าการเป็นมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ แต่อัตราการสูบบุหรี่ของคนภาคเหนือไม่ได้มากกว่าคนภาคอื่น แต่อัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดกลับสูงกว่าคนภาคอื่นๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สมัยก่อนพ่ออุ๊ยจะชอบสูบบุหรี่ขี้โย การแพทย์ก็จะบอกว่า นี่คือสาเหตุหลักของมะเร็ง แต่ปัจจุบันการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมาก แต่อัตราการเป็นมะเร็งปอดก็ยังสูงอยู่ดี งานวิจัยในช่วงหลังๆ พบว่า ชนิดของมะเร็งปอดมีส่วนเกี่ยวข้องกับ PM2.5”งานศึกษาของ รศ.พญ.บุษยามาส ระบุด้วยว่า PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้วก็จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA RNA หากร่างกายได้รับสาร PM2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป ร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM2.5 ก็คือเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว เมื่อสูด PM2.5 เข้าไป ความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่านอกจากนี้ รศ.พญ.บุษยามาส บอกว่า ในอดีตชนิดของมะเร็งปอดที่พบคนป่วยในภาคเหนือคือสแควมัสคาร์ซิโนมา (Squamous Carcinoma) แต่แนวโน้มในปัจจุบันพบมะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมาในผู้ป่วยมากขึ้น