มีนาคม 29, 2024
จีนผงาด แชมป์มหาวิทยาลัยชั้นนำเอเชีย ไทยติด 26 แห่ง

เปิดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย โดย QS จีนผงาดที่ 1 ครั้งแรก โค่นแชมป์เก่าตลอด 4 ปี อย่างสิงคโปร์ ส่วนไทยมี 26 แห่งอยู่บน Ranking มีเพียง 3 แห่ง ติดท็อป 100 ประสบความสำเร็จด้านชื่อเสียงทางวิชาการด้วยอันดับดีที่สุดเป็นประวัติการณ์

การศึกษา วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส หรือคิวเอส (Quacquarelli Symonds หรือ QS) ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการอุดมศึกษา ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : ภูมิภาคเอเชีย QS Asia University Rankings 2023 ครั้งที่ 15 ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยจำนวนมหาวิทยาลัย 760 แห่ง โดยตัวชี้วัดในการจัดอันดับของ QS ในระดับเอเชียนั้น ได้มีการพิจารณาอย่างครอบคลุมมากกว่าสิบด้านรวมทั้งด้านวิชาการและการสอน ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมที่แสดงถึงความแข็งแกร่งที่ครอบคลุมทั้งการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จีนครองอันดับ 1 โค่นแชมป์เก่าสิงคโปร์
โดยผลการจัดอันดับนั้น มหาวิทยาลัยปักกิ่งครองอันดับ 1 ในเอเชีย โค่นแชมป์เก่าอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่รั้งอันดับ 1 มานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะหล่นมาอยู่ในอันดับ 2 ในปีนี้ ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวครองอันดับ 3 ส่วนในภาพรวมนั้นมหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาติดอันดับมากที่สุด ถึง 128 แห่ง รองลงมาคืออินเดียมี 118 แห่ง และญี่ปุ่น 106 แห่งเบน โซวเทอร์ (Ben Sowter) รองประธานอาวุโสของคิวเอส กล่าวว่าการลงทุนด้านการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องและมหาศาลของจีนเป็นรากฐานของความสำเร็จในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งคว้าตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวก็สามารถคว้าอันดับ 3 ไปครอง ส่วนสิงคโปร์ยังคงทำผลงานได้ดี โดยมีมหาวิทยาลัยติด 5 อันดับแรกถึง 2 แห่ง อย่างไรก็ตาม ระบบการอุดมศึกษาของบางประเทศในเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากจำนวนประชากรที่ลดลงจากผลการจัดอันดับชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและจีน แต่ละประเทศมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ติด 5 อันดับแรกในด้านชื่อเสียงทางวิชาการและทัศนคติของผู้จ้างงานต่อมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยโตเกียวครองอันดับหนึ่งของตัวชี้วัดทั้งสอง ส่วนอินเดียมีความเป็นเลิศด้านการผลิตงานวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัย 3 แห่งติด 5 อันดับแรกในด้านเอกสารการวิจัย/คณาจารย์

จีนผงาด แชมป์มหาวิทยาลัยชั้นนำเอเชีย ไทยติด 26 แห่ง

หากพิจารณาจากการกระจุกตัวของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ พบว่าเกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยที่รั้ง 20 อันดับแรกมากที่สุด ขณะที่มาเลเซียมีมหาวิทยาลัยที่รั้ง 50 อันดับแรกมากที่สุด 17% รวมถึงรั้ง 100 อันดับแรกมากที่สุด 22%

สิงคโปร์และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงผลิตงานวิจัยที่มีอิทธิพลสูง โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ติด 5 อันดับแรกในด้านการอ้างอิง/เอกสารการวิจัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอากาข่าน (Aga Khan University) ของปากีสถานมีความสามารถด้านการสอนสูงสุดในเอเชีย ตามดัชนีชี้วัดด้านคณาจารย์/อัตราส่วนนักศึกษาที่สำคัญในปีนี้ มีมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ 5 แห่งที่เข้ามาติด 100 อันดับแรก โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติอัล-ฟาราบี คาซัค (Al-Farabi Kazakh National University) ของคาซัคสถาน เข้ามาในอันดับสูงสุด อันดับ 44 ส่วนอิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคณาจารย์ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีที่สุดของเอเชีย จากดัชนีชี้วัดด้านบุคลากรที่มีวุฒิปริญญาเอกขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในด้านชื่อเสียงทางวิชาการด้วยอันดับดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมหาวิทยาลัย 3 แห่งติด 100 อันดับแรก ในขณะที่ฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในด้านทัศนคติของผู้จ้างงานต่อมหาวิทยาลัย ข่าวการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ 4 แห่งติด 100 อันดับแรก เวียดนามมีการพัฒนามากที่สุด โดยมหาวิทยาลัย 55% มีอันดับดีขึ้น