เมษายน 19, 2024

แต่เดิมเราคิดว่า “แฟชั่น” กับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องห่างไกล แต่ปัจจุบัน กระแส Fast fashion ที่ทำให้เกิดขยะมหาศาล

ออกแบบ ทำให้หลายคนหันมาให้ความสำคัญ เกิดการอัพไซคลิ่งโดยใช้ “วัสดุเหลือทิ้ง” เช่น ขวดพลาสติก รวมถึงไอเดียแฟชั่นจาก Label หรือเศษป้ายติดเสื้อปัจจุบันเรื่องของ สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะในวงการออกแบบไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงแฟชั่นเครื่องนุ่งห่ม ที่เราคุ้นชิน คือ การนำขวดพลาสติกมาอัพไซคลิ่ง (Upcycling) เป็นเสื้อยืดหรือจีวรพระ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามอย่างเศษที่เหลือจากการทำ Label หรือป้ายติดเสื้อ ก็เป็นวัสดุที่สามารถนำมาถักทอกลับมาเป็นชุดที่สวยงามได้เช่นกันสำหรับไอเดียการคืนชีพเศษ Label เกิดจากความชื่นชอบในด้าน แฟชั่น และการทอผ้า จุดประกายให้ “เปรม บัวชุม” วัย 24 ปี ผู้ชนะเลิศ จากคอลเล็กชัน The Origin of Rebirth การประกวดโครงการ “RECO Young Designer Competition” (รีโค่) ปีที่ 9 จัดโดย บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ที่มีความใฝ่ฝันในการทำแบรนด์เสื้อผ้าและการสร้างสตูดิโอสอนทอผ้าจากเศษวัสดุเหลือใช้ ความฝันดังกล่าว ทำให้เปรมเลือกที่จะเรียนทางด้านสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปัจจุบันทำงานด้านดีไซเนอร์ออกแบบอาร์ตเวิร์ค เฟอร์นิเจอร์ และผู้ ความโดดเด่นของผลงานที่เปรมส่งประกวดและคว้ารางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เรียนมา โดยนำวัสดุที่เหลือจากการทอป้าย Label สินค้า ซึ่งจะโดนตัดทิ้งในช่วงริมผ้าหรือระหว่างป้าย โดยปกติของเหลือเหล่านี้จะถูกนำไปเป็นผ้าขี้ริ้ว หรือ ผ้าเช็ดรถ จึงเกิดไอเดียนำวัสดุเหล่านั้นมาใช้ ด้วยคอนเซปต์คอลเลคชั่น คือ “The Origin of Rebirth” การคืนชีพให้ “วัสดุเหลือทิ้ง” ให้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่ ดังนั้น ผลงานดังกล่าวจึงไม่ใช่แค่งานศิลปะธรรมดา แต่สามารถใส่ได้จริง และสามารถทรานฟอร์มเป็นงานศิลปะตามที่ใจคิด ด้วยวัสดุรีไซเคิล 100% “เปรม” เล่าย้อนกลับไปว่า กว่าจะมาเป็นชิ้นงานที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 ชุด ต้องใช้ความพยายามมาก แม้โควิด-19 จะทำให้การตัดสินเลื่อนมาในปี 2022 แต่โครงการเปิดให้ส่งผลงานตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่ตนเองต้องทำ Thesis จบการศึกษา เวลา 2 เดือนกับการวางแผนการทำงาน หาเศษป้ายยี่ห้อที่เหลือทิ้งจากโรงงานนำมารวบรวมและสานด้วยความรู้ที่ตนเองเรียนมา รวมถึงการลงชุมชนจังหวัดสกลนครในการเรียนรู้การทอกี่ และตัดเย็บออกมาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

คืนชีพ “วัสดุเหลือทิ้ง” เปลี่ยนเศษ Label สู่แฟชั่นรักษ์โลก

การคืนชีพวัสดุเหลือใช้มาเป็นชุด ผ่านการถักทอด้วย 3 เทคนิค คือ การทอ การสาน และการเย็บโดยใช้ตัววัสดุเอง แรงบันดาลใจจากทฤษฎีบิ๊กแบง สะท้อนถึงการดับสูญและเกิดใหม่

กลายเป็นงานดีไซด์ชุดออกมาเป็น 3 ระยะ คือ ปะทุ ระเบิด และเกิดใหม่ คล้ายกับดวงดาวที่ปะทุ ข่าวออกแบบ และระเบิดออกมาเป็นดวงดาวใหม่สวยงามขึ้น เปรียบกับการนำวัสดุที่ไม่มีค่ามาอัพไซคลิ่ง เพราะเป็นการประกวด ชุดจึงต้องทำออกมาให้เด่นเหมือนงานศิลปะบนเรือนร่างของคน ดังนั้น 2 ชุดแรก จึงต้องใช้เศษ Label ประมาณ 5-7 กิโลกรัม ต่อชุด และชุดสุดท้ายใช้มากถึง 15 กิโลกรัม “ชุดแรก ออกแบบให้สามารถใส่ได้จริง โดยเอาผ้ามาสานเป็นลายกราฟฟิตี้ สื่อว่ากำลังปะทุและมีภาพพิมพ์ข้างใน ใช้เทคนิคการสานจากความรู้ที่เรียนมา สานเป็นผ้านำมาเป็นเสื้อแจคเกต ขณะที่ ชุดที่สอง ซึ่งจะใหญ่ขึ้น คล้ายกับการระเบิด ในชุดนี้ได้ทำงานร่วมกับชุมชน จ.สกลนคร ในการถ่ายทอดความรู้ด้านการทอกี่ ทอออกมาเป็นผืนผ้าเพื่อตัดเป็นกางเกง และชุดที่สาม เปรียบเสมือนดวงดาวที่เกิดใหม่ มีทุ่งหญ้า และสิ่งมีชีวิต สีสันสดใส จึงต้องใช้ผ้าจำนวนมาก” “ผลงานทั้งหมดไม่ใช่แค่การออกแบบ แต่ยังเป็นการหาวัสดุรีไซเคิลมาถักทอ เป็นผืนผ้า ผ่านเทคนิคเฉพาะที่ทำให้วัสดุเหลือทิ้งกลายเป็นชุดที่สามารถใส่ได้จริง” เปรม เล่าต่อไปว่า ในปี 2019 เคยเข้าร่วมประกวดและเข้ารอบ 10 คน ในปีถัดมาจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมอีกครั้ง ความสำเร็จในครั้งนี้ รู้สึกดีใจ เพราะเป็นงานที่ตั้งใจมาก ต้องทำงานหลักอย่าง Thesis และงานรอง คือ ผลงานประกวดไปพร้อมๆ กัน พอผ่านจุดนั้นมาได้และประสบความสำเร็จ ทำให้รู้สึกว่าเราได้เต็มที่แล้ว ขณะเดียวกัน ครอบครัวก็ยังให้การสนับสนุนทุกเรื่องที่ทำ ไม่ว่าจะคอยหารถซัพพอร์ตในการไปเอาของ และดีใจที่เราประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ในเรื่องของแฟชั่นและสิ่งแวดล้อม “เปรม” มองว่า แต่เดิมคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกล แต่ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป เพราะเริ่มมีวัสดุทดแทนมากขึ้น สามารถหมุนเวียนได้ แฟชั่นกับการรีไซเคิล การรักษ์โลก เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกันมาก และไม่ใช่แค่เรื่องแฟชั่นเท่านั้น แต่การรีไซเคิล ยังเชื่อมโยงไปถึงสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งตามโรงแรม เป็นต้นปัจจุบัน เปรม ทำงานด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และผ้า และอีกหนึ่งความฝันที่พยายามไปให้ถึง คือ การทำแบรนด์เสื้อผ้า กระเป๋า ของใช้ เครื่องประดับของตัวเอง โดยการมองหาวัสดุต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในแบรนด์ พยายามหาแรงบันดาลใจ หาความเป็นเอกลักษณ์ ใส่ดีเทลในการใช้วัสดุช่วยรักษ์โลกในเสื้อผ้าที่ออกแบบ เป็นความฝันในอนาคตที่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาสักระยะหนึ่ง