เมษายน 19, 2024
กรมการแพทย์ เตือน อย่ามองข้าม มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว มีโอกาสหาย

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบใกล้ตัว ที่ผู้ชายทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

สุขภาพ จากกรณีการเสียชีวิตของนักแสดงชายท่านหนึ่งด้วยโรคดังกล่าว วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันข้อมูลที่ควรรู้ เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณเตือน การตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษา ตลอดจนวิธีการป้องกัน ให้ทุกคนได้ทราบกัน ทำความรู้จัก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งอันดับ 4 ของชายไทย มะเร็งต่อมลูกหมาก คือเซลล์เนื้องอกผิดปกติที่เกิดในต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นหูรูดควบคุมการปัสสาวะ และสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิในเพศชาย มักพบในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี และมีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ อายุและพันธุกรรม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกพบมากเป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดในเพศชาย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรายใหม่วันละ 10 ราย หรือ 3,755 รายต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก วันละ 5 ราย หรือ 1,654 รายต่อปี สัญญาณ และการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรก ๆ ของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ โดยผู้ป่วยมักเข้ารับการรักษา เมื่อพบก้อนเนื้อมะเร็งกดเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะลำบาก จำเป็นต้องเบ่ง ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง สำหรับความรุนแรงของตัวโรค อาจมีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง กดเบียดอวัยวะข้างเคียง กดเบียดท่อปัสสาวะเป็นเหตุให้ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะไม่ออก มีการลุกลามไปที่กระดูก ปวดกระดูกรุนแรง มีการหักของกระดูกสันหลัง เกิดเส้นประสาทกดทับจนเดินไม่ได้ และมีการลุกลามไปอวัยวะภายในอื่น ๆ ได้

กรมการแพทย์ เตือน อย่ามองข้าม มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบเร็ว มีโอกาสหาย

สำหรับการตรวจวินิจฉัย ต้องมีการเจาะตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (TRUS Biopsy) ตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ตรวจการลุกลามกระดูกด้วยสารนิวเคลียร์

เพื่อใช้วางแผนในการรักษา โดยแนะนำผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ข่าวสุขภาพ (Prostatic Specific Antigen; PSA) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง การรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หากตรวจพบในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออก โดยการรักษาในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก สามารถผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Laparoscopic Surgery) หรือใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic-assisted Surgery) ซึ่งผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไวมากขึ้น และเสียเลือดน้อยลง ในบางครั้ง หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการผ่าตัด หรือไม่อยากผ่าตัด อาจเลือกใช้วิธีการฉายแสง (Radiotherapy) ซึ่งในระยะต้น ๆ อาจทำให้หายขาดได้เช่นกัน ส่วนรายที่มีอาการลุกลามไปที่กระดูกแล้ว สามารถลดความเจ็บปวดได้อีกด้วยการรักษาโดยการลดฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากมะเร็งมีการกระตุ้นและโตขึ้นจากฮอร์โมน Testosterone การฉีดยาลดฮอร์โมน หรือผ่าตัดเอาอัณฑะออก ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการให้ยาทางเส้นเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น หรือมีการกระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ ผลข้างเคียงในการรักษาจะมีมากกว่าวิธีการอื่น ๆ การป้องกัน โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จากการศึกษาพบว่า หากรับประทาน Lycopene ซึ่งเป็นสารที่พบในมะเขือเทศ ปริมาณอย่างน้อย 10 – 30 มิลลิกรัม/วัน สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : สถิติเก่า พบ ‘อ.สารภี จ.เชียงใหม่’ มีผู้ป่วยมะเร็งปอดและเสียชีวิตมากที่สุดของประเทศ